Homeสามก๊กตามรอยสามก๊กในจีนศาลเจ้าสามก๊ก

ศาลเจ้าสามก๊ก

หนึ่งในสถานที่เกี่ยวกับสามก๊ก ที่พวกเรารู้จักกันดีที่สุด และมักเรียกว่า “ศาลเจ้าสามก๊ก” ซึ่งภายในสถานที่แห่งนี้ึคือ ที่ตั้ง “สุสานฮุ่ยหลิง” ของพระเจ้าเล่าปี่ และศาลเจ้านักรบ “หวู่โหวฉือ” ของท่านขงเบ้ง อยู่รวมกันในศาลแห่งเดียวกัน อัลบั๊มตอนนี้ ขอนำเสนอเป็นตอนสุดท้ายของชุด “เส้นทางสามก๊ก” ครับ

 

ศาลพระเจ้าเล่าปี่แห่งราชวงศ์ฮั่น

หน้าประตูทางเข้าศาลเจ้าสามก๊กของนครเฉิงตู มีตัวอักษรเขียนว่า “ฮั่นเจาเลี่ยเมี่ยว” หรือ ศาลพระเจ้าเล่าปี่แห่งราชวงศ์ฮั่น เป็นที่ตั้งของสุสานพระเจ้าเล่าปี่ สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยจ๊กก๊กต่อมา ในสม้ยราชวงศ์จิ้นตะวันออก ได้บูรณะและมีการสร้างศาลขึ้น

 

มังกรบนกระถาง

 

มังกรบนกระถางธูปสมัยราชวงศ์หมิงหน้าศาลเจ้าเล่าปี่ ด้านหลังมีอักษรจีนสี่ตัว “เยี่ยเส้าเกากวง” หมายถึง พระเจ้าเล่าปี่ทรงสืบสานพระราชภารกิจต่อจาก พระเจ้าฮั่นเกาจู่ และพระเจ้าฮั่นกวงอู่ตี้ สองปฐมราชวงศ์ฮั่นตะวันตกและตะวันออก

 

รูปปั้นพระเจ้าเล่าปี่

รูปปั้นพระเจ้าเล่าปี่ องค์ประธานภายในศาล

รูปปั้นเล่าขำ

ขนาบข้างด้วย “เล่าขำ” หรือ หลิวเฉิน พระราชนัดดาองค์ที่ ๕ (พระราชโอรสของพระเจ้าเล่าเสี้ยน) ผู้ยอมพลีชีพพร้อมครอบครัว แต่มิยอมศิโรราบต่อกองกำลังวุยก๊กที่บุกมาประชิดเมือง ได้รับการยกย่องอย่างสูงยิ่งให้อยู่เคียงข้างพระเจ้าเล่าปี่ (โดยที่ไม่มีรูปปั้นของพระเจ้าเล่าเสี้ยน ผู้ยอมยกเมืองให้ศัตรูอย่างน่าอดสูอยู่ภายในศาลแห่งนี้)

 

รูปปั้นกวนอู

รูปปั้นกวนอู ในชุดเครื่องทรงจักรพรรดิ

รูปปั้นเตียวหุย
รูปปั้นเตียวหุย องอาจและทะมึงตึงยิ่งนัก

ศาลเจ้านักรบของท่านขงเบ้ง

ถัดเข้าไปเป็นศาลเจ้านักรบของท่านขงเบ้ง มีคำกลอนคู่อมตะที่ประดับอยู่ในทุกศาลเจ้านักรบของท่านคือ “อีตุ้ยจู้เชียนชิว – บทสนทนาที่หลงจง ยืนยงอยู่พันปี” “เหลี่ยงเปี่ยวโฉวซานกู้ – สองบทตอบแทน การไปเยือนกระท่อมหญ้าสามครั้ง”

รูปปั้นขงเบ้งรูปปั้นท่านสมุหนายกแห่งจ๊กก๊ก – จูเก๋อเลี่ยง ที่งดงามที่สุด

สุสานฮุ่ยหลิงสุสานฮุ่ยหลิงของพระเจ้าเล่าปี่ หนึ่งในสุสานพระเจ้าแผ่นดินจีนที่มีคนมาเคารพสักการะมากที่สุดแห่งหนึ่ง เพราะเกือบทุกคนจะรู้จักพงศาวดารเอก “สามก๊ก” ที่มีจ๊กก๊กเป็นพระเอก และการเดินทางมาสักการะที่ใจกลางนครเฉิงตู นับว่าสะดวกสบายที่สุด

บทโคลงเปิดเรื่องสามก๊ก

บทโคลงเปิดเรื่อง “ซานกว๋อเหยียนอี้” หรือสามก๊ก ฉบับหลอก้วนจง ประพันธ์โดยหยางเซิงอาน จอหงวนชาวเฉิงตูสมัยราชวงศ์หมิง อันมีเนื้อหาที่สุดคลาสสิกอมตะ และถูกนำไปเป็นบทเพลงประกอบเปิดเรื่องภาพยนตร์โทรทัศน์ชุด “สามก๊ก” ฉบับปีค.ศ.๑๙๙๔ ถูกสลักไว้บนผนังกำแพงสีเทาหม่นด้านในสุดของศาลเจ้าสามก๊ก หลบสายตาผู้คนที่มาเยือนเสียเหลือเกิน

ขอบคุณรูปภาพและบทความจากคุณ Pariwat Chanthorn ที่อนุญาตให้นำมาแชร์ความรู้ให้เราอ่านกัน

แสดงความเห็นได้ที่
Share Button
Previous post
เมืองเกงจิ๋ว
Next post
สามก๊กฉบับ3D

No Comment

Leave a reply