เรื่องของ “กู”

สามกษัตริย์

หากใครเคยศึกษาศิลาจารึกหลักที่ 1 หรือศิลาจารึกพ่อขุนรามคำเเหงมหาราชนั้นจะพบว่า ใน 18 บรรทัดเเรกจะใช้สรรพนามเเทนพระองค์ว่า “กู” จากนั้นก็จะไม่พบอีกในด้านอื่นๆ เนื่องจาก 18 บรรทัดเเรกเป็นการกล่าวถึงพระราชประวัติ

ข้อความในศิลาจารึกอาจแบ่งได้เป็น 3 ตอน

ตอนที่ 1 เป็นพระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 แทนพระองค์ว่า “กู”

ตอนที่ 2 มีเนื้อหาพรรณนาถึงเหตุการณ์บ้านเมืองและความเจริญรุ่งเรืองในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ตอนที่ 3 เนื้อความกล่าวถึงพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

เรื่องการเเทนตนเองว่า “กู” นั้น เป็นที่ติดปากคนไทยมาเเต่โบราณเเล้ว หลายสมัยก็ยังใช้คำว่ากูอยู่เรื่อยมา

….เเต่รู้หรือไม่ว่า คำว่า “กู” นั้น ในประวัติศาสตร์จีนเองก็มีการใช้เป็นสรรพนามเเทนตนเองเหมือนกัน หากได้ชมภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์จีน “เเละฟังเสียงพากย์จีน” จะพบว่า ผู้ที่เเทนตนเองว่า “กู” คือบุคคลระดับ “อ๋อง” (หวาง王) เเละคำว่ากูในภาษาจีนคือ 孤 Gū อ่านว่า กู ออกเสียงเหมือนภาษาไทยทุกประการ

….ในสามก๊ก ถ้าผู้ชื่นชอบสามก๊กได้ลองชมภาพยนตร์เสียงจีนเเล้ว จะสังเกตเห็นว่า ในตอนโจโฉขึ้นเป็นวุยอ๋อง (เว่ยหวาง 魏王) ตอนเล่าปี่ขึ้นเป็นฮันต๋งอ๋อง (ฮั่นจงหวาง 汉中王) เเละตอนซุนกวนเป็นง่ออ๋อง (หวูหวาง吴王) นั้น โจโฉ เล่าปี่เเละซุนกวนจะเเทนตัวเองว่า “กู 孤” เสมอ เเต่หลังจากเล่าปี่ขึ้นเป็นฮ่องเต้ (หวงตี้皇帝) เล่าปี่จะเเทนตัวเองว่า “เจิ้น朕” ซึ่งเป็นคำที่ฮ่องเต้ใช้เป็นสรรพนามเเทนพระองค์

สังเกตว่า คำว่า “กู” ในอดีตจะใช้กับผู้เป็นใหญ่เป็นโต เเต่เเปลกที่ปัจจุบันถือว่าเป็นคำไม่สุภาพ  เเต่ก็เป็นที่เข้าใจว่า ต่างยุคสมัย ค่านิยมเปลี่ยน คำนี้จึงถือเป็นคำไม่สุภาพในปัจจุบัน จบเเล้วครับสำหรับ “เรื่องของ “กู”

แสดงความเห็นได้ที่
Share Button
Previous post
ด่านโปยสิก๋วน
Next post
พระเจ้าเล่าเสี้ยนใช้สรรพนามเรียกขงเบ้งว่าอย่าไร

No Comment

Leave a reply