Homeสามก๊กตามรอยสามก๊กในจีนด่านเกียมก๊ก เจี้ยนเหมินกวน

ด่านเกียมก๊ก เจี้ยนเหมินกวน

เจี้ยนเหมินกวน 剑门关 หรือ ด่านเกียมก๊กในสามก๊ก ปราการธรรมชาติอันแข็งแกร่งน่าเกรงขามของจ๊กก๊ก ขงเบ้งเคยยกทัพออกกิสานหกครั้ง ผ่านด่านนี้สู่วุยก๊ก

 

ด่านเกียมก๊ก

ด่านเจี้ยนเหมินกวนทางด้านทิศเหนือ มีตัวอักษรเขียนไว้บนด่าน ตัวอักษรบนคือ “เอี่ยนตีฉางอาน” 眼底长安 สายตาทอดแลฉางอาน (เตียงอั๋น) สะท้อนเจตจำนงของขงเบ้งในการออกศึกกิสาน ๖ ครั้ง เพื่อหมายพิชิตวุยก๊ก รวมแผ่นดินจีนเป็นหนึ่งเดียว ตัวอักษรล่างคือ เทียนเซี่ยโสวงกวน 天下雄关 ปราการเข้มแข็งอันดับหนึ่งในใต้หล้า บ่งบอกถึงความสำคัญของด่านนี้ต่อชะตากรรมของจ๊กก๊ก และชาวเฉิงตู หัวใจของเสฉวน

 

ตัวอักษรจีน

ตัวอักษรเจี้ยนเหมินกวน หากข้าศึกผ่านด่านนี้ไปได้ เซงโต๋มิอาจอยู่อย่างสุขสงบได้

 

เจี้ยนเหมินกวนฝั่งทิศใต้

เจี้ยนเหมินกวนฝั่งทิศใต้ แลเห็นปราการขุนเขาโอบล้อมทุกทิศทาง พร้อมด้วยลำธารไหลเชี่ยว มีเพียงช่องเขาที่ผ่านเข้าจ๊กก๊กได้ และปราการนี้ตั้งอยู่บนเนินเขา สามารถแลเห็นข้าศึกยกทัพมาแต่ไกลได้ จึงนับเป็นชัยภูมิที่ได้เปรียบยิ่ง

 

รูปสลักขงเบ้ง

รูปสลักบนผนังหินทรายแดง เป็นรูปท่านขงเบ้งนำทัพจ๊กก๊กออกด่านนี้ขึ้นเหนือสู่ฮันต๋ง ทำการศึกกิสาน ๖ ครั้ง 六出祁山 -ลิ่วชูฉีซาน

 

จูเก๋อเลี่ยง

มาดอันอาจองของท่านจูเก๋อเลี่ยง-ข่งหมิง

 

อีฟูตังกวน

อีฟูตังกวน – หนึ่งคนเฝ้าด่าน

 

ว่านฟูม่อไค

ว่านฟูม่อไค – ทหารหมื่นนายมิอาจกรายผ่าน คำจารึกบนตัวด่านเกียมก๊ก ไม่ผิดความจริงเลยแม้แต่น้อ

 

ทางเดินเลียบผาสู่จ๊กก๊ก

กู่จั้นเต้า 古栈道 ทางเดินเลียบผาสู่จ๊กก๊ก คือตอนหนึ่งของจินหนิวกู่เต้า 金牛古道 บอกให้เห็นถึงความยากลำบากของการเดินทางเข้าสู่แคว้นสู่ ดังคำกล่าวของกวีเซียนหลี่ไป๋ที่ว่า “ทางเดินสู่แคว้นสู่ ยากยิ่งกว่าขึ้นสวรรค์” ช่างเป็นจริงนัก 蜀难道, 难于上青天.

กู่จั้นเต้าของเสฉวน ถือเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาของชาวแคว้นสู่โดยแท้ ทางตอนเหนือของเจี้ยนเหมินกวนขึ้นไปยังมีอีกหลายแห่ง ที่ดังที่สุด คือหมิงเยว่เสีย ซึ่งผมยังไม่ได้ไป เพราะเวลานั้นปิดซ่อมอยู่ เขาทำจั้นเต้าเลียบผาริมแม่น้ำเจียหลิงเจียงครับ

 

ด่านเกียมก๊กจ๊กก๊ก

ตอนหนึ่งของกู่จั้นเต้า ที่ทำการเดินเลียบผาอ้อมเขาอันสูงชัน แม้จ๊กก๊กจะมีปราการชั้นเลิศนี้ปกป้อง หากแต่ไร้ซึ่งผู้นำและแม่ทัพที่หาญกล้าซื่อสัตย์จงรักภักดีแล้ว ก็มิอาจต่อกรกับผู้รุกราน เฉกเช่นชะตากรรมบั้นปลายของจ๊กก๊กที่บอกให้เรารู้มาแล้วในอดีต (และอย่าเดินรอยตามอีก!!!)

ขอบคุณรูปภาพและบทความจากคุณ Pariwat Chanthorn ที่อนุญาตให้นำมาแชร์ความรู้ให้เราอ่านกัน

แสดงความเห็นได้ที่
Share Button
Previous post
ล่างจง เมืองเตียวหุย
Next post
เนินหงส์ร่วง

10 Comments

  1. 18 April 2014 at 2:49 am

    1ในสถานที่สำคัญในประวัติศาสตร์ในวรรณกรรมสามก๊ก ขอบคุณสำหรับรูปและประสพการณ์ครับ

  2. 18 April 2014 at 3:44 am

    สวยจัง

  3. อยากไปๆ

Leave a reply