Homeสามก๊กตามรอยสามก๊กในไทยภาพสลักหินตอนขงเบ้งดีดพิณลวงสุมาอี้

ภาพสลักหินตอนขงเบ้งดีดพิณลวงสุมาอี้

ขงเบ้งดีดพิณลวงสุมาอี้

ภาพสลักหินเรื่องสามก๊ก วัดพิชยญาติการาม แห่งเดียวในประเทศไทย

ตอนขงเบ้งดีดพิณลวงสุมาอี้

บริเวณรอบพาไลของพระอุโบสถวัดพิชยญาติการาม ถนนสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน ฝั่งธนบุรี มีภาพสลักหินสามก๊ก ซึ่งเป็นแห่งเดียวในประเทศไทย สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ อาจารย์ น.ณ ปากน้ำ ได้เคยกล่าวถึงว่า เป็นศิลปะจีนที่ดีเยี่ยม นิยมชมชื่นนายช่างจีนว่ามีความรู้ความเข้าใจดีเหลือเกิน สามารถวางองค์ประกอบของภาพ ได้จังหวะพอดิบพอดี

ภาพสลักหินสามก๊ก มีทั้งหมด ๒๒ ภาพ หลายภาพถูกสภาพอากาศ ธรรมชาติ และกาลเวลาทำลายจนไม่สามารถตีความได้ คงเหลือภาพที่สมบูรณ์อยู่ในปัจจุบันประมาณ ๑๒ ภาพ

ภาพที่สมบูรณ์ที่สุดภาพหนึ่งคือ ตอนขงเบ้งดีดพิณลวงสุมาอี้ เป็นภาพในห้องที่ ๑๗ ดังความในสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ว่า…
“…สุมาอี้ขึ้นม้าพาทหารไปประมาณยี่สิบคน ยืนอยู่แต่ไกลกำแพง แลขึ้นไปเห็นขงเบ้งแต่งตัวอ่าโถง หน้าตาแช่มชื่นบานสบายอยู่ ก็คิดว่ากองทัพเรายกมาเป็นการจวนตัวถึงเพียงนี้ ขงเบ้งหามีความสะดุ้งใจไม่ กลับดีดกระจับปี่เล่นเสียอีกเล่า ชะรอยจะแต่งกลไว้ลวงเราเป็นแม่นมั่นคง คิดฉะนั้น ก็กริ่งเกรงกลัวขงเบ้งจะซ่อนทหารไว้ ก็ชักม้าพาทหารกลับไป…”
ภาษาจีนที่ธงของสุมาอี้ หมายถึง “สามขุนพลตระกูลซือหม่า (สุมา)” อันได้แก่ สุมาอี้ สุมาเจียว และสุมาสู

“อุบายเมืองร้าง” หรือ “คงเฉิงจี้” ฉากนี้ นับเป็นตอนที่แฟนานุแฟนสามก๊กรู้จักกันดีมากที่สุดตอนหนึ่งเลยทีเดียว…

ขอบคุณบทความและภาพที่อนุญาตนำมาเผยแพร่จากคุณ Pariwat Chanthorn

 

แสดงความเห็นได้ที่
Share Button
Previous post
สองเกี้ยวแห่งกังตั๋ง
Next post
เล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ร่วมรบลิโป้

No Comment

Leave a reply